2-ทุนสนับสนุนรางวัลการเผยแพร่ผลงาน
ทุนสนับสนุนรางวัลการเผยแพร่ผลงาน
กองทุนวิจัยสนับสนุนเงินสมนาคุณสำหรับนักวิจัยที่มีผลงานทางวิชาการหรืองานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านการนำเสนอหรือได้รับการตีพิมพ์บทความวิชาการหรือบทความวิจัยในวารสารวิชาการ ในการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยอาศัยคำนิยามของผลงานแต่ละประเภทตามเกณฑ์ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ดังเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
งานวิจัย หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่เป็นงานศึกษาหรืองานค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยวิธีวิทยาการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล คำตอบหรือข้อสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปประยุกต์ใช้
บทความวิจัย (Research paper) หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่มีกระบวนการศึกษา มีระเบียบแบบแผนที่เหมาะสมกับสาขาวิชา ในการค้นหาคำตอบของปัญหา ตลอดจนถึงการประดิษฐ์คิดค้นที่ผ่านกระบวนการศึกษา ค้นคว้า ทดลองหรือ วิเคราะห์และตีความข้อมูลตลอดจนสรุปผลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือเป็นการต่อยอดองค์ความรู้เดิม โดยจัดทำในรูปของบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (Academic journal) ที่มีคุณภาพซึ่งมีผู้ตรวจอ่าน (Peer review) หรือเอกสารการประชุมวิชาการ (Proceedings) ที่นำเสนอในที่ประชุมวิชาการที่มีผู้ตรวจอ่าน
บทความวิชาการ (Academic paper) หรือ บทความปริทัศน์ (Reviewed articles) หมายถึง งานเขียนทางวิชาการซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบาย หรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวทางหลักวิชาการ จนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาประมวลร้องเรียนเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยที่ผู้เขียนแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจน
**ลักษณะการเผยแพร่มีรูปแบบดังนี้**
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ระดับชาติ หมายถึง ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหรือวารสารที่มีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคุณภาพของบทความตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือวารสารที่อยู่ในบัญชีวารสารของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI (Thai Journal Citation Index Center) หรือเผยแพร่ในวารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคุณภาพบทความตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในระดับชาติ
หมายถึง บทความจากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (Journal) ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) หรือวารสาร วิชาการที่ยอมรับโดยคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ก.พ.อ.) ให้เป็นวารสารระดับชาติ
การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ระดับชาติ ที่มีกองบรรณาธิการจัดทำรายงานฯ หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วยศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น ๆ นอกสถาบันเจ้าภาพอย่างน้อยร้อยละ 25 และมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นจากนอกสถาบันของเจ้าของบทความ
งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ
หมายถึง บทความจากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (Academic journal) ที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล
เช่น ERIC, MathSciNet, Pubmed, Scopus, Web of Science (เฉพาะในฐานข้อมูล
SCIE, SSCI และ AHCI เท่านั้น),
JSTOR และ Project Muse เป็นต้น
หรือในฐานข้อมูลสากลอื่นๆ ที่ยอมรับในศาสตร์นั้นๆ หรือวารสาร
วิชาการที่ยอมรับโดยคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ให้เป็นวารสารระดับนานาชาติ
การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในเอกสารการประชุมวิชาการ (Proceedings) ซึ่งมีคณะกรรมการจัดประชุมหรือมีกองบรรณาธิการประกอบด้วยศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากต่างประเทศอย่างน้อยร้อยละ 25 และมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นจากต่างประเทศ
การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง การประชุมที่มีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายประเทศ อาจจัดขึ้นในประเทศไทยหรือต่างประเทศก็ได้ หรือมีการกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเป็นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
วารสารระดับชาติ หมายถึง วารสารวิชาการ (Academic journal) ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) หรือวารสารวิชาการที่ยอมรับโดยคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ให้เป็นวารสารระดับชาติและมีชื่อปรากฏในบัญชีรายชื่อที่เผยแพร่
วารสารระดับนานาชาติ หมายถึง วารสารวิชาการ (Academic journal) ที่มีชื่อปรากฏในฐานข้อมูลสากล เช่น ERIC, MathSciNet, Pubmed, Scopus, Web of Science (เฉพาะในฐานข้อมูล SCIE, SSCI และ AHCI เท่านั้น), JSTOR และ Project Muse เป็นต้น หรือในฐานข้อมูลสากลอื่นๆ ที่ยอมรับในศาสตร์นั้นๆ หรือวารสาร วิชาการที่ยอมรับโดยคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ให้เป็นวารสารระดับนานาชาติ
**เงื่อนไขผลงานที่มีสิทธิ์ขอรับรางวัล**
- เป็นผลงานที่ได้จากข้อมูลจากการศึกษา
ค้นคว้าและวิจัยด้วยตนเองหรือมีส่วนร่วมในการวิจัย
-
ต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัด หรือข้อกําหนดของแหล่งทุนอื่นใด
หรือเป็นตัวชี้วัดของเครือข่ายวิจัยใน
ระดับคณะและมหาวิทยาลัย
กรณีที่ได้รับทุนไปแล้วแต่ตรวจสอบพบในภายหลัง คณะฯ มีสิทธิ์เรียกรางวัลคืน
-
ชื่อผู้มีส่วนร่วมในผลงานจะต้องปรากฏตามชื่อผู้มีส่วนร่วมในโครงการวิจัย
- ผลงานที่เสนอขอรับรางวัลต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อปริญญาของผู้ขอรับรางวัล - ผลงานที่ทำร่วมกับนักศึกษาจะต้องไม่เป็นผลงานที่เป็นเงื่อนไขการจบการศึกษาของนักศึกษา
- เป็นผลงานที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อนทุกรูปแบบ
-
ผลงานที่เสนอขอรับรางวัลต้องได้รับการตีพิมพ์แล้ว
กรณีบุคลากรเกษียณอายุหรือสิ้นสุด สัญญาจ้างก่อนสิ้นสุดปีงบประมาณที่ขอรับรางวัล
ให้ส่งหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ที่ระบุ “ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง สังกัดผู้แต่ง
ชื่อวารสาร ปีที่ และฉบับที่
-
บทความ 1 เรื่อง
มีสิทธิ์ขอรับการสนับสนุนได้เพียง 1 คนเท่านั้น
และหากมีการตรวจสอบภายหลังพบว่ามีการขอซ้ำซ้อน คณะฯ
ขอสิทธิ์ในการเรียกเงินสนับสนุนคืน
- ผลงานต้องสะกดชื่อสังกัดอย่างถูกต้อง กล่าวคือ บทความภาษาไทยต้องระบุสังกัดว่า “คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี” บทความภาษาอังกฤษต้องระบุสังกัดว่า “Faculty of Islamic Sciences Prince of Songkla University Pattani Campus” และบทความภาษาอาหรับต้องระบุสังกัดว่า “كلية العلوم الإسلامية جامعة الأمير سونجكلا فرع فطاني” - เป็นผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้วไม่เกิน1 ปี นับจากวันที่บทความได้รับการตีพิมพ์ จนถึงวันที่ศูนย์วิจัยฯ ได้รับเอกสารขอรับเงินรางวัล
ระดับผลงานและมูลค่ารางวัล
ระดับผลงาน |
มูลค่ารางวัล
(บาท) |
|
1. |
บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูล
Scopus, Web of Science
(เฉพาะในฐานข้อมูล SCIE, SSCI และ AHCI
เท่านั้น) 1.1 (Q1-Q2) 1.2 (Q3-Q4) |
40,000/บทความ 30,000/บทความ |
2. |
บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูลอื่น
ๆตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.)
กำหนดนอกเหนือจากข้อ 1 |
10,000/บทความ |
3. |
บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูล
TCI 3.1 TCI
กลุ่ม 1 3.2 TCI กลุ่ม 2 |
5,000/บทความ 3,000/บทความ |
4. |
Book Chapter หรือ
บทความในหนังสือรวมเล่ม ซึ่งเป็นบทความที่มี Peer Review โดยต้องเป็นหนังสือที่ออกจากสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติหรือระดับชาติ
5.1 ภายในประเทศ 5.2 ต่างประเทศ
|
3,000/บทความ 5,000/บทความ |
5. |
บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในรายงานการประชุมวิชาการ
(Proceeding) ในระดับชาติ
หรือนานาชาติ |
1,000/บทความ/คน/ปี |
6. |
บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในรายงานการประชุมวิชาการ
(Proceeding)
ระดับนานาชาติในฐานข้อมูล Scopus, Web of Science (เฉพาะในฐานข้อมูล SCIE, SSCI และ AHCI เท่านั้น) |
2,000/บทความ |
รายละเอียดเกี่ยวกับการขอรับเงินรางวัลการตีพิมพ์และเผยแพร่
การสมัครขอรับเงินรางวัลการตีพิมพ์และเผยแพ
- ผู้สมัครขอรับเงินรางวัล ส่งแบบฟอร์ม (RS-FaIS006 การขอรับเงินรางวัล) ไปยังศูนย์วิจัยฯ
- การจัดส่งเอกสารประกอบการพิจารณาคือ สำเนาบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนั้นๆ จำนวน 1 ชุด และ สารบัญหรือหน้าปกของสิ่งตีพิมพ์ จำนวน 1 ชุด
- หลักฐานการกรอกข้อมูลในระบบ HRMIS
- หลักฐานการแสดงร้อยละการมีส่วนร่วมในผลงานนั้น ๆ
- หลักฐานการผ่านอนุมัติเบิกเงินรางวัลจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำหรับบทความระดับ ISI/SCOPUS
การรับเงินสมนาคุณการตีพิมพ์ - รายละเอียดของระดับผลงาน ตามข้อ 2.2.1 - ผลงานตามข้อ 1 และข้อ 2 ผู้ขอรับรางวัล สามารถเบิกได้เต็มจำนวน โดยต้องเป็นชื่อแรก หรือCorresponding author เท่านั้น - ผู้ที่รับเงินรางวัลการตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิจัย ต้องมีหลักฐานตามข้อ 2.2.4.1 ส่งไปยังศูนย์วิจัยฯ - การจ่ายเงินทุนสนับสนุนจ่ายงวดเดียว เมื่อผู้ขอรับทุนส่งมอบบทความวิจัยให้แก่ศูนย์วิจัยฯ แล้ว * ทั้งนี้กรณีที่ต้องดำเนินการใดๆ เพื่อให้รางวัลเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ ที่มิได้ประกาศไว้ในประกาศนี้ หรือ กำหนดไว้ไม่ชัดเจน ขอให้คณะกรรมการศูนย์วิจัยฯ ตีความวินิจฉัยและปฏิบัติตามที่เห็นสมควร