1-ทุนอุดหนุนโครงการวิจัย
ทุนอุดหนุนโครงการวิจัย
กองทุนวิจัย มีเงื่อนไขการรับทุน 8 ข้อ คือ 1) งบประมาณ 2) ระยะเวลาทำการวิจัย 3) การจ่ายเงินทุน 4) การสมัครขอรับทุน 5) การพิจารณาจัดสรรทุน 6) การรับทุน
7)
การรายงานความก้าวหน้าของผลการวิจัย และ 8)
การส่งรายงานการวิจัย มีรายละเอียดดังนี้
งบประมาณ
- โครงการวิจัยภายในประเทศ ทุนละไม่เกิน 50,000 บาท
- โครงการวิจัยร่วมกับองค์กรภายนอกประเทศ
ทุนละไม่เกิน 100,000 บาท
- โครงการวิจัยสถาบัน ทุนละไม่เกิน 30,000 บาท
- โครงการวิจัยในชั้นเรียน
หรือการวิจัยเอกสาร ทุนละไม่เกิน 20,000 บาท
* ทั้งนี้หากเกินงบประมาณดังกล่าว
ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการศูนย์วิจัยวิทยาการอิสลามและมุสลิมศึกษา
และงบประมาณดังกล่าวไม่สามารถตั้งค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนให้กับนักวิจัยได้ รวมถึงการตั้งอัตราร้อยละการมีส่วนร่วมในผลงานของนักวิจัยภายนอกต้องไม่เกิน
25%
- สนับสนุนทุนให้กับที่ปรึกษาโครงการวิจัย
(นักวิจัยรุ่นกลางและรุ่นใหญ่) กรณีเป็นโครงการของนักวิจัยใหม่ โครงการละไม่เกิน 10,000 บาท
โดยให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการศูนย์วิจัยฯ เป็นรายโครงการไป
ระยะเวลาทำการวิจัย
ระยะเวลาทำการวิจัยไม่เกิน 1 ปี นับจากวันทำสัญญาขอรับทุน และสามารถขอขยายเวลาได้ตามเงื่อนไขต่อไปดังนี้
- หากผู้รับทุนไม่สามารถดำเนินการวิจัยให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
สามารถขอขยายเวลาดำเนินการวิจัยออกไปได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 6
เดือน
หากครบกำหนดเงื่อนไขการขอขยายเวลาวิจัยแล้วแต่ยังไม่สามารถดำเนินการวิจัยให้แล้วเสร็จ
จะต้องคืนทุนวิจัยทั้งหมด
- การขยายเวลาวิจัยเริ่มนับจากสัญญาเดิมที่ผู้รับทุนให้ไว้กับกองทุนว่าโครงการวิจัยจะสิ้นสุดเมื่อใดและให้นับต่อจากวันดังกล่าวจนถึงระยะเวลาที่ขอกำหนดเวลาใหม่สิ้นสุด
พร้อมทั้งส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ให้กองทุนวิจัย
การจ่ายเงินทุน
แบ่งจ่ายเป็น 4 งวด ดังนี้
งวดที่ 1 จ่าย 40% ของงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ
เมื่อผู้รับทุนทำสัญญาการรับทุนกับผู้ให้ทุนและกรอกข้อมูลในระบบ PRPM แล้ว
งวดที่ 2 จ่าย 40% เมื่อผู้รับทุนกรอกรายงานความก้าวหน้าในระบบ PRPM และส่งรายงานความก้าวหน้าของการวิจัยให้คณะกรรมการศูนย์วิจัยฯ
ให้ความเห็นชอบแล้ว
งวดที่ 3 จ่าย 10% เมื่อผู้รับทุนรายงานข้อมูลในระบบ PRPM และจัดส่งเอกสารตามข้อ
2.1.8 แล้ว
งวดสุดท้าย จ่าย 10% เมื่อผู้รับทุน ส่งผลงานตีพิมพ์ ตามเงื่อนไข 2.18 แล้ว
หลังสิ้นสุดระยะโครงการวิจัย หรือภายใน 1 ปี
หากพ้นกำหนดไม่สามารถส่งผลงานตีพิมพ์ไม่ว่ากรณีใดๆผู้ให้ทุนระงับการจ่ายเงินทุนสนับสนุนงวดสุดท้ายที่ยังคงค้างอยู่ตามที่ระบุไว้ในสัญญา
การสมัครขอรับทุน
ผู้สมัครขอรับทุนจัดทำรายละเอียดการวิจัยตามแบบฟอร์มโครงการวิจัยของคณะฯ
(แบบฟอร์มRS-FaIS001) ไปยังศูนย์วิจัยวิทยาการอิสลามและมุสลิมศึกษา
คณะวิทยาการอิสลาม
การพิจารณาจัดสรรทุน
- ศูนย์วิจัยฯ
แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาความเป็นไปได้ แนวคิด หลักการและเหตุผล
รวมทั้งจำนวนเงินที่เหมาะสมตามที่ได้เสนอในโครงการขอรับทุน
ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์วิจัยฯ
- ศูนย์วิจัยฯ แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขอรับทุนทราบภายใน 2 เดือน หลังจากที่ได้รับข้อเสนอโครงการวิจัย
ทั้งนี้ นักวิจัยควรเริ่มดำเนินงานวิจัยหลังจากโครงการวิจัยนั้นได้รับอนุมัติแล้ว
- ผู้ขอรับทุนที่เคยได้รับทุนจากกองทุนวิจัยคณะฯ
ต้องส่งรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์หรือเอกสารตามที่กำหนดในข้อ 2.1.8 ก่อนที่จะเสนอขอทุนอุดหนุนการวิจัยครั้งใหม่
- ในกรณีการดำเนินโครงการวิจัยในมนุษย์
จะต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การรับทุน
ผู้รับทุนดำเนินการดังนี้ หลังจากที่โครงการวิจัยได้รับการอนุมัติแล้ว
- จัดทำสัญญารับทุนกับศูนย์วิจัยฯ ตามแบบฟอร์ม RS-FaIS002 จำนวน 3
ฉบับ
- หลังจากที่ได้รับอนุมัติโครงการวิจัยแล้ว หากจะเปลี่ยนแปลงระเบียบวิธีวิจัย
เปลี่ยนแปลง ผู้ร่วมโครงการ ฯลฯ ต้องแจ้งความประสงค์ผ่านแบบฟอร์ม RS-FaIS003 และได้รับความเห็นชอบจากคณบดี/รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย/คณะกรรมการศูนย์วิจัยฯ
- กรณีที่ผู้รับทุนไม่สามารถดำเนินการวิจัยให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติ
ให้ผู้รับทุนเสนอขออนุมัติขยายเวลาดำเนินการวิจัย แจ้งความประสงค์ผ่านแบบฟอร์ม RS-FAIS003 และได้รับความเห็นชอบจากคณบดี/รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย/คณะกรรมการศูนย์วิจัยฯ
- คณะฯ
ขอสงวนสิทธิ์ที่จะระงับการให้ทุนและเรียกให้ชดใช้เงินทุนวิจัยในกรณีที่ผู้รับทุนไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้
หรือตามที่กำหนดไว้ในโครงการวิจัย ตลอดจนสัญญาการรับทุน
การรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย
ผู้รับทุนจะต้องส่งรายงานความก้าวหน้าของการวิจัย
6 เดือน ผ่านแบบฟอร์ม RS-FaIS004 พร้อมรูปเล่ม จำนวน 2 เล่ม นับจากวันทำสัญญา
การส่งรายงานการวิจัย/การปิดโครงการวิจัย
การปิดโครงการวิจัยเมื่อครบกำหนดสัญญารับทุน
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
รูปแบบที่1
- จัดส่งร่างรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ จำนวน 2 เล่ม
มายังศูนย์วิจัยฯ เพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา
- พร้อมส่งสำเนาต้นฉบับบทความวิจัย (Menu
script) หรือหนังสือตอบรับการส่งบทความตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล
TCI กลุ่ม 2 จำนวน 1 เรื่อง หรือระดับที่สูงกว่า
- จัดส่งรายงานสรุปแสดงรายการค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนการวิจัย ตามแบบฟอร์ม RS-FaIS005
รูปแบบที่2
จัดส่งบทความวิจัย
ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล ต่างๆ ดังนี้
- TCI กลุ่ม 2 จำนวน 2 เรื่อง
หรือ
- TCI กลุ่ม 1 จำนวน 1 เรื่อง หรือ
- SCOPUS/ISI
จำนวน 1
เรื่อง
* พร้อมแนบผลการตรวจสอบการคัดลอกผลงานจากระบบ
Turnitin จำนวน 1 ชุด (โดยจะต้องมีผลการตรวจสอบการคัดลอกผลงานไม่เกินร้อยละ
25) ทั้งนี้ผลการพิจารณาขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการศูนย์วิจัยฯ